27 ก.พ. 2554

เรื่อง ดร.จินตมัย สุวรรณประทีป ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

ก่อนหน้านี้เราคงเคยได้ยินถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (tissue engineering) ร่วมกับเซลล์ต้นกำเนิด (stem cells) ในการสร้างเนื้อเยื่อและอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง กระดูก กระดูกอ่อน หลอดลม กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีดูเหมือนจะรุดหน้าไปอีกครั้งเมื่อมีรายงานออกมาจากศูนย์การแพทย์โคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการสร้างฟันขึ้นมาใหม่ สำหรับใช้ในการทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไปจากสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหรืออุบัติเหตุ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีแนวทางในการทดแทนฟันธรรมชาติด้วยการใช้ฟันเทียมในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยกันหลากหลายวิธี แต่ดูเหมือนยังไม่มีวิธีใดที่จะมีประสิทธิ ภาพใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติของมนุษย์
                 โครงสร้างของฟันมนุษย์ซึ่งประกอบไปด้วยหลายประเภทของเนื้อเยื่อ[1]           

จริง ๆ แล้วแนวความคิดในการใช้เซลล์ต้นกำเนิดมาใช้ในการสร้างฟันมนุษย์ขึ้นมาใหม่นั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ใหม่ล่าสุดแต่อย่างใด จุดเริ่มต้นของแนวความคิดนั้นอาจจะย้อนกลับไปได้ถึงช่วงปี 2000 ที่เริ่มมีการค้นพบว่าสามารถสกัดเซลล์ต้นกำเนิดออกจากฟันได้ และนักวิจัยจากคิงส์คอลเลจ ประเทศอังกฤษ ได้ระบุถึงความเป็นไปได้ในการใช้เซลล์ต้นกำเนิดในการนำมาช่วยในการสร้างฟันมนุษย์ ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งบริษัท Odontis ขึ้นมาสำหรับพัฒนางานวิจัยดังกล่าวเพื่อนำไปสู่เชิงพาณิชย์ นับจากนั้นเป็นต้นมาแนวความคิดดังกล่าวได้นำไปสู่การวิจัยและพัฒนาในหลายศูนย์วิจัย และมหาวิทยาลัยในประเทศต่าง ๆ มีการพัฒนาเทคนิคขึ้นมาเพื่อที่จะพยายามสร้างฟันขึ้นมาใหม่จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนการพัฒนาการดังกล่าวจะเป็นไปอย่างล่าช้าเฉกเช่นเดียวกับการพัฒนาการสร้างอวัยวะอื่น ๆ อันเนื่องมาจากความซับซ้อนของโครงสร้างฟันซึ่งไม่ได้มีแต่เพียงเนื้อเยื่อหรือเซลล์เพียงประเภทเดียว แต่ประกอบไปด้วยหลายส่วน เช่น ส่วนของโพรงประสาท ส่วนเคลือบฟัน ส่วนของเนื้อฟัน ส่วนของเส้นเลือด ส่วนของเอ็นยึดปริทันต์ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วนักวิจัยสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีในการสร้างโครงสร้างที่คล้ายฟันแต่ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อกระดูกเพียงประเภทเดียวขึ้นมาได้ในห้องปฏิบัติการหรือแม้แต่ในสัตว์ทดลอง ซึ่งยังคงต่างจากฟันธรรมชาติมาก แต่เมื่อไม่นานมานี้เองที่ทางศูนย์การแพทย์โคลัมเบียได้แสดงให้เห็นว่าสามารถที่จะสร้างโครงสร้างฟันขึ้นมา ซึ่งประกอบไปด้วยกระดูกและเอ็นยึดปริทันต์ขึ้นมาได้พร้อมกันในโครง สร้างฟันที่สร้างขึ้นมาภายหลังจากทำการฝังเข้าไปในหนูทดลองที่ระยะเวลา 9 อาทิตย์ นอกจากนี้เทคนิคที่ใช้ยังเป็นเทคนิคใหม่ซึ่งใช้สารกระตุ้นการเจริญเติบโตร่วมกับโครงร่างรองรับการเจริญของเซลล์ในการกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิดในร่างการสิ่งมีชีวิตเกิดการเจริญขึ้นมาเป็นเนื้อเยื่อของฟันที่ต้องการ โดยไม่ต้องทำการสกัดเอาเซลล์ต้นกำเนิดออกมาเลี้ยงบนโครงสร้างในห้องปฏิบัติการก่อนที่จะนำกลับเข้าไปฝัง ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้มีค่าใช้จ่ายในการทำงานที่ต่ำลงมาก อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีดังกล่าวยังคงเป็นการทดสอบในสัตว์ทดลองและคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่จะสามารถนำมาใช้งานในการรักษามนุษย์ได้จริง                แผนภูมิแสดงขั้นตอนของการพัฒนาฟันขึ้นมาใหม่ของบริษัท Odontis[3]

              ภาพแสดงรูปทรงและลักษณะรูพรุนของโครงร่างรองรับการเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิด
                  สำหรับการสร้างฟันขึ้นมาใหม่ที่พัฒนาโดยศูนย์การแพยท์โคลัมเบี้ย[4]
               ภาพแสดงการฝังโครงร่างรองรับการเจริญของเซลล์ที่ใส่สารกระตุ้นการเจริญ
             เข้าไปในหนูทดลองของศูนย์การแพทย์โคลัมเบีย (ภาพ A,B) และการเจริญของ
         เนื้อเยื่อประเภทต่างๆ ในโครงร่างรองรับการเจริญของเซลล์ (s) ได้แก่ กระดูกใหม่ (nb)
                                และ เอ็นยึดปริทันต์ (pdl) ดังแสดงในภาพ C

            การแสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมเนื้อเยื่อร่วมกับเซลล์ต้นกำเนิดสำหรับการสร้างฟันขึ้นมาใหม่นี้คงจะไม่ได้นำไปสู่คำตอบสุดท้ายของการทดแทนฟันธรรมชาติของมนุษย์ในอนาคต แต่น่าจะเป็นทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับการรักษาผู้ป่วยที่ไม่เหมาะสมกับการรักษาด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน
เอกสารอ้างอิง
            1. http://judfun.blogspot.com/2009/04/teeth-structure. html
           
2. http://blogs.trb.com/news/specials/newsillustrated/blog/2009/09/stem_cells_aid_in_the_regenera_1.html
           
3. http://www.osseotech.com/index.php?do=com ments&bid=201
           
4. http://singularityhub.com/2010/06/01/bodys-own-stem-cells-used-to-grow-teeth-in-mouth/
           
5. K. Kim, C.H. Lee, B.K. Kim and J.J. Mao (2010), J. Dent. Mater., DOI:10.1177/0022034510370803
           
6. http://www.cloningresources.com/research/Researchers_use_stem_cells_to_create_living_dental_implants.asp
           
7. http://healthveda.com/dental-health
8
http://www.medicthai.com/admin/news_detail.php?id=4910

11 ม.ค. 2554

การประยุกต์ใช้และการดูแลรักษา Telemedicine สำหรับผู้สูงอายุ

Telemedicine เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ข้อมูลทางการแพทย์การสื่อสารและการปฏิบัติต่อผู้ป่วย. แพทย์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยสามารถโอนผ่านอุปกรณ์สื่อสารสองจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์เพื่ออดทนผ่าน telemedicine อุปกรณ์.
แต่นี้จะไม่ส่งแฟกซ์ที่ต้องการบันทึกหรือเทียบเท่า; แทนการโอนข้อมูลที่เกิดขึ้นในเวลาจริงสิ่งแวดล้อม. ผู้ที่สามารถโอนข้อมูลทางการแพทย์การใช้เสียง, ข้อความและวิดีโอข้อความและการโอนนี้สามารถเกิดขึ้นระหว่างสองระยะไกลสถานที่. เทคโนโลยีใหม่ที่เป็นประโยชน์เนื่องจากผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลปัญญามากได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลเฝ้าแหน.
Telemedicine สามารถใช้สำหรับการปรึกษาหารือเกี่ยวกับจิตเวชศาสตร์, ฟื้นฟู, cardiology ภายในยากุมารเวชศาสตร์, geriatrics, นรีเวชวิทยาและสูติศาสตร์. Telemedicine ยังสามารถวัดการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยและสถิติอื่นๆที่สำคัญที่จำเป็นสำหรับการวินิจฉัยทันทีผ่านอุปกรณ์ telemedical.
จะได้รับประโยชน์อะไรของ telemedicine สำหรับผู้สูงอายุคน? Telemedicine เป็นประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุเนื่องจากพวกเขาอยู่อาศัยคนที่ต้องดูแลรักษาและคงที่ในการดูแลขาดสิ่งใดก็ตามที่สามารถเกิดขึ้นแก่พวกเขา.
วันนี้มีหลาย assistive อุปกรณ์ต่างๆที่มีการทำสำหรับผู้สูงอายุที่มีอุปกรณ์ telemedicine รวมและเข้ากันในพวกเขา. อุปกรณ์เหล่านี้สามารถช่วยกันทำให้คงที่แท็บในสุขภาพของผู้สูงอายุและส่งสัญญาณเตือนเมื่อมีต้องกังวล. ตัวอย่างเช่น assistive อุปกรณ์เป็นเก้าอี้เข็นกับ telemedicine capacities และสูงโมบาย. เหล่านี้ wheelchairs สามารถวัดผู้ป่วยหัวใจเต้น, ความดันเลือดและอาการอื่นๆโดยใช้บางง่ายๆเทคโนโลยี.