27 ก.พ. 2554

เรื่อง ดร.จินตมัย สุวรรณประทีป ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

ก่อนหน้านี้เราคงเคยได้ยินถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (tissue engineering) ร่วมกับเซลล์ต้นกำเนิด (stem cells) ในการสร้างเนื้อเยื่อและอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง กระดูก กระดูกอ่อน หลอดลม กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีดูเหมือนจะรุดหน้าไปอีกครั้งเมื่อมีรายงานออกมาจากศูนย์การแพทย์โคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการสร้างฟันขึ้นมาใหม่ สำหรับใช้ในการทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไปจากสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหรืออุบัติเหตุ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีแนวทางในการทดแทนฟันธรรมชาติด้วยการใช้ฟันเทียมในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยกันหลากหลายวิธี แต่ดูเหมือนยังไม่มีวิธีใดที่จะมีประสิทธิ ภาพใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติของมนุษย์
                 โครงสร้างของฟันมนุษย์ซึ่งประกอบไปด้วยหลายประเภทของเนื้อเยื่อ[1]           

จริง ๆ แล้วแนวความคิดในการใช้เซลล์ต้นกำเนิดมาใช้ในการสร้างฟันมนุษย์ขึ้นมาใหม่นั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ใหม่ล่าสุดแต่อย่างใด จุดเริ่มต้นของแนวความคิดนั้นอาจจะย้อนกลับไปได้ถึงช่วงปี 2000 ที่เริ่มมีการค้นพบว่าสามารถสกัดเซลล์ต้นกำเนิดออกจากฟันได้ และนักวิจัยจากคิงส์คอลเลจ ประเทศอังกฤษ ได้ระบุถึงความเป็นไปได้ในการใช้เซลล์ต้นกำเนิดในการนำมาช่วยในการสร้างฟันมนุษย์ ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งบริษัท Odontis ขึ้นมาสำหรับพัฒนางานวิจัยดังกล่าวเพื่อนำไปสู่เชิงพาณิชย์ นับจากนั้นเป็นต้นมาแนวความคิดดังกล่าวได้นำไปสู่การวิจัยและพัฒนาในหลายศูนย์วิจัย และมหาวิทยาลัยในประเทศต่าง ๆ มีการพัฒนาเทคนิคขึ้นมาเพื่อที่จะพยายามสร้างฟันขึ้นมาใหม่จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนการพัฒนาการดังกล่าวจะเป็นไปอย่างล่าช้าเฉกเช่นเดียวกับการพัฒนาการสร้างอวัยวะอื่น ๆ อันเนื่องมาจากความซับซ้อนของโครงสร้างฟันซึ่งไม่ได้มีแต่เพียงเนื้อเยื่อหรือเซลล์เพียงประเภทเดียว แต่ประกอบไปด้วยหลายส่วน เช่น ส่วนของโพรงประสาท ส่วนเคลือบฟัน ส่วนของเนื้อฟัน ส่วนของเส้นเลือด ส่วนของเอ็นยึดปริทันต์ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วนักวิจัยสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีในการสร้างโครงสร้างที่คล้ายฟันแต่ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อกระดูกเพียงประเภทเดียวขึ้นมาได้ในห้องปฏิบัติการหรือแม้แต่ในสัตว์ทดลอง ซึ่งยังคงต่างจากฟันธรรมชาติมาก แต่เมื่อไม่นานมานี้เองที่ทางศูนย์การแพทย์โคลัมเบียได้แสดงให้เห็นว่าสามารถที่จะสร้างโครงสร้างฟันขึ้นมา ซึ่งประกอบไปด้วยกระดูกและเอ็นยึดปริทันต์ขึ้นมาได้พร้อมกันในโครง สร้างฟันที่สร้างขึ้นมาภายหลังจากทำการฝังเข้าไปในหนูทดลองที่ระยะเวลา 9 อาทิตย์ นอกจากนี้เทคนิคที่ใช้ยังเป็นเทคนิคใหม่ซึ่งใช้สารกระตุ้นการเจริญเติบโตร่วมกับโครงร่างรองรับการเจริญของเซลล์ในการกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิดในร่างการสิ่งมีชีวิตเกิดการเจริญขึ้นมาเป็นเนื้อเยื่อของฟันที่ต้องการ โดยไม่ต้องทำการสกัดเอาเซลล์ต้นกำเนิดออกมาเลี้ยงบนโครงสร้างในห้องปฏิบัติการก่อนที่จะนำกลับเข้าไปฝัง ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้มีค่าใช้จ่ายในการทำงานที่ต่ำลงมาก อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีดังกล่าวยังคงเป็นการทดสอบในสัตว์ทดลองและคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่จะสามารถนำมาใช้งานในการรักษามนุษย์ได้จริง                แผนภูมิแสดงขั้นตอนของการพัฒนาฟันขึ้นมาใหม่ของบริษัท Odontis[3]

              ภาพแสดงรูปทรงและลักษณะรูพรุนของโครงร่างรองรับการเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิด
                  สำหรับการสร้างฟันขึ้นมาใหม่ที่พัฒนาโดยศูนย์การแพยท์โคลัมเบี้ย[4]
               ภาพแสดงการฝังโครงร่างรองรับการเจริญของเซลล์ที่ใส่สารกระตุ้นการเจริญ
             เข้าไปในหนูทดลองของศูนย์การแพทย์โคลัมเบีย (ภาพ A,B) และการเจริญของ
         เนื้อเยื่อประเภทต่างๆ ในโครงร่างรองรับการเจริญของเซลล์ (s) ได้แก่ กระดูกใหม่ (nb)
                                และ เอ็นยึดปริทันต์ (pdl) ดังแสดงในภาพ C

            การแสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมเนื้อเยื่อร่วมกับเซลล์ต้นกำเนิดสำหรับการสร้างฟันขึ้นมาใหม่นี้คงจะไม่ได้นำไปสู่คำตอบสุดท้ายของการทดแทนฟันธรรมชาติของมนุษย์ในอนาคต แต่น่าจะเป็นทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับการรักษาผู้ป่วยที่ไม่เหมาะสมกับการรักษาด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน
เอกสารอ้างอิง
            1. http://judfun.blogspot.com/2009/04/teeth-structure. html
           
2. http://blogs.trb.com/news/specials/newsillustrated/blog/2009/09/stem_cells_aid_in_the_regenera_1.html
           
3. http://www.osseotech.com/index.php?do=com ments&bid=201
           
4. http://singularityhub.com/2010/06/01/bodys-own-stem-cells-used-to-grow-teeth-in-mouth/
           
5. K. Kim, C.H. Lee, B.K. Kim and J.J. Mao (2010), J. Dent. Mater., DOI:10.1177/0022034510370803
           
6. http://www.cloningresources.com/research/Researchers_use_stem_cells_to_create_living_dental_implants.asp
           
7. http://healthveda.com/dental-health
8
http://www.medicthai.com/admin/news_detail.php?id=4910

11 ม.ค. 2554

การประยุกต์ใช้และการดูแลรักษา Telemedicine สำหรับผู้สูงอายุ

Telemedicine เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ข้อมูลทางการแพทย์การสื่อสารและการปฏิบัติต่อผู้ป่วย. แพทย์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยสามารถโอนผ่านอุปกรณ์สื่อสารสองจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์เพื่ออดทนผ่าน telemedicine อุปกรณ์.
แต่นี้จะไม่ส่งแฟกซ์ที่ต้องการบันทึกหรือเทียบเท่า; แทนการโอนข้อมูลที่เกิดขึ้นในเวลาจริงสิ่งแวดล้อม. ผู้ที่สามารถโอนข้อมูลทางการแพทย์การใช้เสียง, ข้อความและวิดีโอข้อความและการโอนนี้สามารถเกิดขึ้นระหว่างสองระยะไกลสถานที่. เทคโนโลยีใหม่ที่เป็นประโยชน์เนื่องจากผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลปัญญามากได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลเฝ้าแหน.
Telemedicine สามารถใช้สำหรับการปรึกษาหารือเกี่ยวกับจิตเวชศาสตร์, ฟื้นฟู, cardiology ภายในยากุมารเวชศาสตร์, geriatrics, นรีเวชวิทยาและสูติศาสตร์. Telemedicine ยังสามารถวัดการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยและสถิติอื่นๆที่สำคัญที่จำเป็นสำหรับการวินิจฉัยทันทีผ่านอุปกรณ์ telemedical.
จะได้รับประโยชน์อะไรของ telemedicine สำหรับผู้สูงอายุคน? Telemedicine เป็นประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุเนื่องจากพวกเขาอยู่อาศัยคนที่ต้องดูแลรักษาและคงที่ในการดูแลขาดสิ่งใดก็ตามที่สามารถเกิดขึ้นแก่พวกเขา.
วันนี้มีหลาย assistive อุปกรณ์ต่างๆที่มีการทำสำหรับผู้สูงอายุที่มีอุปกรณ์ telemedicine รวมและเข้ากันในพวกเขา. อุปกรณ์เหล่านี้สามารถช่วยกันทำให้คงที่แท็บในสุขภาพของผู้สูงอายุและส่งสัญญาณเตือนเมื่อมีต้องกังวล. ตัวอย่างเช่น assistive อุปกรณ์เป็นเก้าอี้เข็นกับ telemedicine capacities และสูงโมบาย. เหล่านี้ wheelchairs สามารถวัดผู้ป่วยหัวใจเต้น, ความดันเลือดและอาการอื่นๆโดยใช้บางง่ายๆเทคโนโลยี.

Video conference บูมต่อเนื่องในตลาดการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) หลังเศรษฐกิจฟื้นตัว

ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine

คือนำเอาความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการแพทย์โดยตรง โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านสื่อโทรคมนาคมอันทันสมัย โดยแพทย์ต้นทางและ
ปลายทางสามารถติดต่อกันได้ด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างหน่วยงาน และการอบรมทางการแพทย์ต่างๆ  อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดด้านการเบิกค่าใช้จ่ายและนโยบายด้านกฎหมายยังเป็นปัจจัยที่สำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้งานของการแพทย์ทางไกลในปัจุบัน
“นอกจากนี้  ยังมีอุปสรรคอื่น ๆ สำหรับการแพทย์ทางไกลอีกเช่น ความไม่คุ้นเคยในการใช้เทคโนโลยี และกระแสต่อต้านของบุคลากรอันเกิดจากความกลัวว่าจะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แทนบุคลากร อีกด้วย” มร. เปทรูซีนิค ให้ความคิดเห็น
ในด้านของเทคโนโลยี นับว่ายังมีความกัลวลอยู่บ้านในด้านของการบูรณาการระหว่าง การแพทย์ทางไกลกับเวชระเบียนอีเล็กทรอนิกส์ และประเด็นในการแก้ไขปัญหาระบบการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ยังจะต้องได้รับการอบรมในการประสานงานและดูแลทางไกล รวมทั้งต้องรับมือกับการรับรองความรับผิดชอบทางกฏหมายและการออกใบอนุญาตอีกด้วย
ข่าวประชาสัมพันธ์โดย:
ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน
Sasikarn Watthanachan | Corporate Communications, Thailand | Frost & Sullivan
sasikarn.watt@frost.com | P: +66.2.630.1734 | F: +66.2.630.1735 | www.frost.com
“We Accelerate Growth”
เผยแพร่ข่าวโดย:www.thaibusinesspr.com

บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม(Universal Service Obligation : USO) กรณีศึกษา การพัฒนาระบบ Telehealth / Telemedicine ในประเทศไทย

เนื่องจากบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน  ซึ่งหมายถึงการให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ โทรศัพท์ประจำที่ และอินเทอร์เน็ต  เป็นสาธารณูปโภคที่รัฐจะต้องจัดให้มีอย่างทั่วถึง  โดยครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศไทย  เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน  ทั้งในด้านการติดต่อสื่อสาร  การรับทราบข้อมูลข่าวสาร  การศึกษา  การสาธารณสุข  และอื่นๆ อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  แต่ในอดีตที่ผ่านมาการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานยังไม่ทั่วถึง  เพราะผู้ให้บริการมุ่งเน้นพื้นที่ซึ่งมีผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน  รวมทั้งไม่มีกฎหมายฉบับใดบัญญัติให้ต้องมีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง  นอกจากบัญญัติไว้ในมาตรา 6  แห่งพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497  แต่เพียงว่า  เพื่อดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของกิจการโทรศัพท์  เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน                                
การดำเนินการที่ผ่านมาของ กทช
            หลังจากที่ได้มีประกาศเรื่องหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม  เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2548  รวมถึงการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม  จำนวน 6,000 หมู่บ้าน  และบริการเพื่อสังคม จำนวน 4,000 แห่งทั่วประเทศ  เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2549  เพื่อให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  ซึ่งได้รับใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่สาม  ต้องปฏิบัติตามประกาศของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 

            บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  ได้มีการติดตั้งระบบโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมที่ สถานีอนามัยป่าแป๋ กับสถานีอนามัยสล่าเชียงตอง  อำเภอแม่สะเรียง  สถานีอนามัยกองก๋อย อำเภอสบเมย  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  และ ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขาที่อยู่บนภูเขาสูง  ไม่มีระบบสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยเจ็บ

            ส่วนในภาคใต้นั้น  จังหวัดพังงา เป็นจังหวัดพื้นที่เป้าหมายในการจัดให้มีโทรศัพท์จำนวน 39 หมู่บ้านใน 8 อำเภอ  และสถานีอนามัย 25 แห่ง  เนื่องจากจังหวัดพังงาซึ่งเป็นจังหวัดภาคใต้ด้านฝั่งทะเลอันดามัน  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขา ทะเล และเกาะต่างๆ  เป็นจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ  นิยมไปเที่ยวเพื่อพักผ่อนกับธรรมชาติเป็นจำนวนมาก  แต่การติดต่อสื่อสารทางระบบโทรคมนาคมไม่สะดวกและทั่วถึง  บางพื้นที่ไม่มีโทรศัพท์พื้นฐาน  ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์สาธารณะหรือโทรศัพท์ประจำที่ใช้  รวมทั้งสถานีอนามัยบางแห่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล  การคมนาคมไม่สะดวก  ขาดแคลนแพทย์  ทำให้ไม่สามารถติดต่อกับแพทย์ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด  หรือโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการตรวจรักษา  เพื่อขอคำวินิจฉัยเกี่ยวกับอาการป่วยเจ็บ  จึงยากต่อการรักษาและทำให้การรักษาเป็นไปด้วยความล่าช้า  นอกจากนี้แล้วจังหวัดพังงายังเป็นจังหวัดที่เคยประสบภัยจากคลื่นสึนามิ  ซึ่งในอนาคตไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่  จึงจำเป็นต้องจัดให้มีระบบโทรคมนาคมพื้นฐาน  โดยเฉพาะในสถานีอนามัยหรือในพื้นที่ห่างไกล

            ดังนั้น เมื่อบริษัท ควอลคอมม์ (ประเทศไทย) จำกัด  ผู้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย 3G CDMA (CDMA 2000 และ WCDMA) ได้แสดงความจำนงกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ที่จะบริจาคอุปกรณ์การแพทย์ในการตรวจรักษาระยะไกล  เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยเจ็บ  ให้แก่สถานีอนามัยที่ห่างไกลหรือโรงพยาบาลที่ขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษา  ตามโครงการสาธารณสุขสู่ถิ่นทุรกันดาร  คณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ  จึงได้มีการพิจารณาร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข  บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม มีภาระหน้าที่ในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน  ในหมู่บ้านและสถานีอนามัยในพื้นที่ห่างไกล ของจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้  4 จังหวัด  รวมทั้งจังหวัดพังงา  และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา  ซึ่งมีความเห็นตรงกันที่จะนำอุปกรณ์การแพทย์ดังกล่าว ไปติดตั้งที่โรงพยาบาลพังงา  โรงพยาบาลตะกั่วป่า  สถานีอนามัยเกาะปันหยี  และสถานีอนามัยปากเกาะ

            ทั้งนี้  อุปกรณ์การแพทย์ในการตรวจรักษาระยะไกล  เพื่อใช้ในการวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล  หรือขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาที่ บริษัท ควอลคอมม์ (ประเทศไทย) จำกัด บริจาคให้นี้จะส่งข้อมูลจากสถานีอนามัยเกาะปันหยี และสถานีอนามัยบ้านปากเกาะผ่านระบบการสื่อสารของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  ไปยังโรงพยาบาลพังงา และตะกั่วป่าให้คำปรึกษา  โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา  จะรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรทางการแพทย์ และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  จะให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานระยะแรกให้แก่  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา  เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้ตั้งงบประมาณเกี่ยวกับโครงการนี้ไว้ เพราะบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้สนับสนุนโครงข่ายโทรคมนาคม ระบบ CDMA  ทั้งนี้ เพื่อเป็นการนำเอาระบบเทคโนโลยีการสื่อสารมาประยุกต์ใช้กับการแพทย์ในพื้นที่ขาดแคลนแพทย์  ซึ่งจะช่วยในการรักษาผู้ป่วยเจ็บในถิ่นทุรกันดารได้อย่างรวดเร็ว

            บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม และโครงการสาธารณสุขสู่ถิ่นทุรกันดารเป็นนโยบายที่สำคัญของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ในฐานะผู้จัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม  กำหนดจัดให้มีพิธีเปิดโครงการ  ณ เกาะปันหยี  อำเภอเมือง  จังหวัดพังงา  ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550  โดย คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข  บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  และบริษัท ควอลคอมม์ (ประเทศไทย) จำกัด  จะไปร่วมพิธีเปิดโครงการและมอบอุปกรณ์การแพทย์ในการตรวจรักษาระยะไกล  เพื่อใช้ในการวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยเจ็บ  ทั้งประชาชนในพื้นที่รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ  ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาเพื่อดำเนินการต่อไป
            นอกจากนี้แล้ว  จะมีการมอบอุปกรณ์เทเลเซ็นเตอร์หรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ แก่ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี ที่บ้านบางเหรียง  ตำบลทับปุด  อำเภอทับปุด  ด้วย  

            ซึ่งโครงการโทรคมนาคมเพื่อสาธารณสุข  เป็นโครงการต้นแบบในการนำเอาระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร ไปประยุกต์ใช้กับการแพทย์เพื่อการรักษาผู้ป่วยเจ็บ  อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร  นอกเหนือจากการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง  เป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544  รวมทั้งเป็นการแสดงถึงความห่วงใยของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  ที่มีต่อประชาชนในพื้นที่ห่างไกล  ผู้ด้อยโอกาสในสังคม  คนพิการและคนชรา  ในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียมกัน  อันเป็นผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรและเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวม


                                                               จาก...http://www.vcharkarn.com/varticle/

การขยายผลการใช้ระบบ tele - medicine

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เตรียมขยายผลการใช้ระบบ tele - medicine ในการรักษาผู้ป่วย หลังประสบความสำเร็จอย่างดีในโครงการนำร่องในพื้นที่ภาคใต้ นายแพทย์วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยผลการตรวจเยี่ยมการใช้ระบบ tele - medicine ที่โรงพยาบาลควนขนุน จังหวัดพัทลุง ว่า การนำระบบ tele - medicine มาใช้ทำให้การให้บริการประชาชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องความขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ประกอบกับมีหลายพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร ต้องใช้เวลานานในการส่งต่อผู้ป่วย โดย สปสช. ได้จัดสรรงบประมาณ 8 ล้านบาท ดำเนินการนำร่องใน 11 จุดสื่อสารในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจากการตรวจติดตามการดำเนินงานพบว่าสามารถช่วยให้การบริการประชาชนมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการอบรม พัฒนาบุคลากร และส่งข้อมูลต่างๆ ได้ด้วย โดยหลังจากนี้ ก็น่าจะมีการขยายผลการดำเนินการในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป อย่างไรก็ตาม ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาตามความจำเป็นของแต่ละเขตพื้นที่ด้วย ด้านนายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลควนขนุน กล่าวว่า จากการนำระบบ tele - medicine มาใช้ในโรงพยาบาลในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ลดภาวะแทรกซ้อน และมีผลการรักษาที่ดีขึ้น เนื่องจากสามารถปรึกษา รับคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางจากโรงพยาบาลจังหวัดพัทลุงได้ทันที รวมถึงสามารถแจ้งข้อมูลคนไข้ที่จะส่งต่อเพื่อให้โรงพยาบาลจังหวัดเตรียมความพร้อมในการรักษาได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว โดยเฉพาะโรคฉุกเฉิน เช่น หัวใจขาดเหลือด กับเส้นเลือดในสมองตีบ