11 ม.ค. 2554

Video conference บูมต่อเนื่องในตลาดการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) หลังเศรษฐกิจฟื้นตัว

ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine

คือนำเอาความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการแพทย์โดยตรง โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านสื่อโทรคมนาคมอันทันสมัย โดยแพทย์ต้นทางและ
ปลายทางสามารถติดต่อกันได้ด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างหน่วยงาน และการอบรมทางการแพทย์ต่างๆ  อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดด้านการเบิกค่าใช้จ่ายและนโยบายด้านกฎหมายยังเป็นปัจจัยที่สำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้งานของการแพทย์ทางไกลในปัจุบัน
“นอกจากนี้  ยังมีอุปสรรคอื่น ๆ สำหรับการแพทย์ทางไกลอีกเช่น ความไม่คุ้นเคยในการใช้เทคโนโลยี และกระแสต่อต้านของบุคลากรอันเกิดจากความกลัวว่าจะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แทนบุคลากร อีกด้วย” มร. เปทรูซีนิค ให้ความคิดเห็น
ในด้านของเทคโนโลยี นับว่ายังมีความกัลวลอยู่บ้านในด้านของการบูรณาการระหว่าง การแพทย์ทางไกลกับเวชระเบียนอีเล็กทรอนิกส์ และประเด็นในการแก้ไขปัญหาระบบการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ยังจะต้องได้รับการอบรมในการประสานงานและดูแลทางไกล รวมทั้งต้องรับมือกับการรับรองความรับผิดชอบทางกฏหมายและการออกใบอนุญาตอีกด้วย
ข่าวประชาสัมพันธ์โดย:
ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน
Sasikarn Watthanachan | Corporate Communications, Thailand | Frost & Sullivan
sasikarn.watt@frost.com | P: +66.2.630.1734 | F: +66.2.630.1735 | www.frost.com
“We Accelerate Growth”
เผยแพร่ข่าวโดย:www.thaibusinesspr.com

1 ความคิดเห็น: